เมื่อลูกตัวเหลืองแรกคลอด
ตัวเหลืองแรกคลอด (modernmom)
โดย: ปิยมาศ
ภาวะตัวเหลืองพบได้ในเด็กแรกคลอดทั่วไป มีทั้งเป็นแล้วหายเองได้ และต้องได้รับการรักษา รวมถึงดูแลอย่างถูกต้อง แต่หากได้รับการรักษาช้าเกินไป ก็อาจทำให้เด็กเสียชีวิตหรือเกิดความพิการบางอย่างได้
อาการตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด
แม้ว่าอาการตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดจะเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็ตาม แต่แม่ ๆ หลายคนก็ยังกังวลและสงสัยว่า อาการเช่นนี้มีสาเหตุมาจากอะไรกัน
เม็ดเลือดแดงที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในเด็กที่เพิ่งเกิดใหม่นั้น จะถูกทำลายและเปลี่ยนเป็น "บิลิรูบิน" สารสีเหลืองที่อยู่ในกระแสเลือด เมื่อเม็ดเลือดแดงเหล่านั้นหมดอายุแล้ว แต่การทำงานของตับในเด็กเล็กยังทำงานได้ไม่ดีพอ จึงไม่สามารถกำจัดเจ้าบิลิรูบินออกจากร่างกายได้หมด ทำให้สารสีเหลืองคงค้างอยู่ในกระแสเลือด และเกิดการสะสมอยู่ตามผิวหนัง
ด้วยเหตุนี้เอง อาการตัวเหลืองตาเหลืองจึงแสดงออกมาให้เห็นใน 2 ลักษณะ คือ ชนิดที่ปกติและไม่ปกติ หากลูกเป็นตัวเหลืองแบบปกติคงไม่เป็นอะไร แต่ถ้าเป็นชนิดที่ไม่ปกติ ก็ควรรีบพาไปพบแพทย์ การสังเกตอาการจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่แม่ควรรู้
ชนิดปกติ
มีอาการตัวเหลืองหลังคลอด 2-3 วัน และค่อยๆ เหลืองเพิ่มขึ้น จนกระทั่งปลายสัปดาห์แรกถึงสัปดาห์ที่สอง จึงมีอาการตัวเหลือมากที่สุด
ไม่มีอาการซึมหรือดูดนมไม่ดี
ขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะปกติ
อาการตัวเหลืองค่อย ๆ ลดลงได้เอง
เด็กที่กินนมแม่อย่างเดียวอาจตัวเหลืองมากและ นานกว่าเด็กที่กินนมผสมอย่างเดียว ไม่มีอันตราย แต่ควรได้รับการตรวจและติดตามผลโดยแพทย์ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก
ชนิดไม่ปกติ
เด็กมีอาการตัวเหลือง เมื่อมองด้วยตาเปล่าภายในวันแรกหลังคลอด ลักษณะแบบนี้พบได้ในเด็กที่มีกรุ๊ปเลือดไม่เข้ากับแม่
มีอาการตัวเหลืองร่วมกับอาการไม่สบายบางอย่าง เช่น ซึม ร้องกวนมากกว่าปกติ หรือร้องเสียงแหลมผิดปกติ ดูดนมได้ไม่ดี ท้องอืด ท้องเสีย
มีอาการตัว เหลืองร่วมกับถ่ายอุจจาระสีเหลืองซีด
เมื่อพิจารณาตามอายุแล้ว เด็กมีอาการตัวเหลืองมากกว่าเกณฑ์ปกติ
กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะตัวเหลืองรุนแรง
เด็กที่เกิดก่อนกำหนด
เด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยหรือมากกว่าเกณฑ์ปกติ
เด็กที่มีหมู่เลือดไม่เข้ากับแม่
เด็กที่มีอาการตัวแดงจัด เพราะมีเม็ดเลือดแดงเข้มข้นกว่าปกติ
เด็กที่มีประวัติว่าพี่มีอาการตัวเหลืองมากจนต้องได้รับการรักษา
เด็กที่ได้รับนมแม่อย่างเดียว แต่แม่มีน้ำนมน้อยหรือให้นมไม่เพียงพอ จนเด็กน้ำหนักตัวลดลงมาก
เด็กที่มีเลือดขังหรือมีลักษณะช้ำบริเวณหนัง ศีรษะ ซึ่งเกิดจากการคลอดยากหรือต้องใช้เครื่องมือแพทย์ช่วยในการคลอด เช่น เครื่องดูดสูญญากาศ คีม ฯลฯ
เด็กที่มีอาการเจ็บป่วยร่วมด้วย
การรักษา
ความเชื่อแต่โบราณ ว่ากันว่าหากเด็กตัวเหลือง นอกจากการได้รับนมแม่ ควรให้น้ำในปริมาณมาก ซึ่งความจริงแล้ว การทำเช่นนั้นอาจทำให้เด็กตัวเหลืองมากและนานขึ้น เพราะได้รับอาหารไม่พอและทำให้ขี้เทาค้างอยู่ในลำไส้นานเกินไป ส่วนการพาไปอาบแดดอ่อนตอนเช้า ซึ่งเป็นอีกวิธีที่นิยมทำกัน อาจได้ผลอยู่บ้าง แต่ถ้าเด็กตัวเหลืองแบบไม่ปกติ วิธีนี้อาจไม่ทันการ ควรที่จะได้รับการรักษาด้วยวิธีดังนี้
1.การส่องไฟ เป็นการใช้แสงบำบัดด้วยหลอดไฟสีฟ้าเข้ม โดยจะส่องไฟตลอดเวลา ยกเว้นช่วงที่แม่ให้นม นับเป็นการรักษาที่ไม่มีผลเสียหรืออันตรายกับเด็ก ใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน จนระดับการตัวเหลืองลดลงจึงหยุดการรักษาได้ แต่กรณีที่เด็กขาดน้ำหรือไม่สามารถกินนมได้อย่างเพียงพอ อาจต้องให้น้ำเกลือร่วมด้วย
2.การเปลี่ยนถ่ายเลือด เด็กจะได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ก็ต่อเมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วพบว่า มีอาการตัวเหลืองรุนแรงมาก เนื่องจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เช่น กรณีที่หมู่เลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากัน ฯลฯ รวมถึงรักษาด้วยการส่องไฟแล้วไม่ได้ผล
หากเด็กอยู่ในภาวะตัวเหลืองรุนแรงแล้วไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เสียชีวิต หรือเกิดความพิการที่สมองอย่างถาวร มีอาการหูตึงหรือหูหนวกได้ การป้องกันที่ดีที่สุดคงจะเป็นการให้นมกับทารกอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรสังเกตอาการหลังกลับบ้าน แม้คุณแม่มือใหม่อาจเป็นช่วงชุลมุนวุ่นวายหลายอย่าง แต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับการสังเกตลูกด้วยนะคะ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรก ๆ เพราะนอกจากช่วยภาวะความเสี่ยงแล้ว หากพบว่าลูกมีสัญญาณอาการเหล่านี้ ก็จะได้รีบพาลูกไปพบแพทย์ได้ไม่ล่าช้าเกินไป
โดย: ปิยมาศ
ภาวะตัวเหลืองพบได้ในเด็กแรกคลอดทั่วไป มีทั้งเป็นแล้วหายเองได้ และต้องได้รับการรักษา รวมถึงดูแลอย่างถูกต้อง แต่หากได้รับการรักษาช้าเกินไป ก็อาจทำให้เด็กเสียชีวิตหรือเกิดความพิการบางอย่างได้
อาการตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด
แม้ว่าอาการตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดจะเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็ตาม แต่แม่ ๆ หลายคนก็ยังกังวลและสงสัยว่า อาการเช่นนี้มีสาเหตุมาจากอะไรกัน
เม็ดเลือดแดงที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในเด็กที่เพิ่งเกิดใหม่นั้น จะถูกทำลายและเปลี่ยนเป็น "บิลิรูบิน" สารสีเหลืองที่อยู่ในกระแสเลือด เมื่อเม็ดเลือดแดงเหล่านั้นหมดอายุแล้ว แต่การทำงานของตับในเด็กเล็กยังทำงานได้ไม่ดีพอ จึงไม่สามารถกำจัดเจ้าบิลิรูบินออกจากร่างกายได้หมด ทำให้สารสีเหลืองคงค้างอยู่ในกระแสเลือด และเกิดการสะสมอยู่ตามผิวหนัง
ด้วยเหตุนี้เอง อาการตัวเหลืองตาเหลืองจึงแสดงออกมาให้เห็นใน 2 ลักษณะ คือ ชนิดที่ปกติและไม่ปกติ หากลูกเป็นตัวเหลืองแบบปกติคงไม่เป็นอะไร แต่ถ้าเป็นชนิดที่ไม่ปกติ ก็ควรรีบพาไปพบแพทย์ การสังเกตอาการจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่แม่ควรรู้
ชนิดปกติ
มีอาการตัวเหลืองหลังคลอด 2-3 วัน และค่อยๆ เหลืองเพิ่มขึ้น จนกระทั่งปลายสัปดาห์แรกถึงสัปดาห์ที่สอง จึงมีอาการตัวเหลือมากที่สุด
ไม่มีอาการซึมหรือดูดนมไม่ดี
ขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะปกติ
อาการตัวเหลืองค่อย ๆ ลดลงได้เอง
เด็กที่กินนมแม่อย่างเดียวอาจตัวเหลืองมากและ นานกว่าเด็กที่กินนมผสมอย่างเดียว ไม่มีอันตราย แต่ควรได้รับการตรวจและติดตามผลโดยแพทย์ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก
ชนิดไม่ปกติ
เด็กมีอาการตัวเหลือง เมื่อมองด้วยตาเปล่าภายในวันแรกหลังคลอด ลักษณะแบบนี้พบได้ในเด็กที่มีกรุ๊ปเลือดไม่เข้ากับแม่
มีอาการตัวเหลืองร่วมกับอาการไม่สบายบางอย่าง เช่น ซึม ร้องกวนมากกว่าปกติ หรือร้องเสียงแหลมผิดปกติ ดูดนมได้ไม่ดี ท้องอืด ท้องเสีย
มีอาการตัว เหลืองร่วมกับถ่ายอุจจาระสีเหลืองซีด
เมื่อพิจารณาตามอายุแล้ว เด็กมีอาการตัวเหลืองมากกว่าเกณฑ์ปกติ
กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะตัวเหลืองรุนแรง
เด็กที่เกิดก่อนกำหนด
เด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยหรือมากกว่าเกณฑ์ปกติ
เด็กที่มีหมู่เลือดไม่เข้ากับแม่
เด็กที่มีอาการตัวแดงจัด เพราะมีเม็ดเลือดแดงเข้มข้นกว่าปกติ
เด็กที่มีประวัติว่าพี่มีอาการตัวเหลืองมากจนต้องได้รับการรักษา
เด็กที่ได้รับนมแม่อย่างเดียว แต่แม่มีน้ำนมน้อยหรือให้นมไม่เพียงพอ จนเด็กน้ำหนักตัวลดลงมาก
เด็กที่มีเลือดขังหรือมีลักษณะช้ำบริเวณหนัง ศีรษะ ซึ่งเกิดจากการคลอดยากหรือต้องใช้เครื่องมือแพทย์ช่วยในการคลอด เช่น เครื่องดูดสูญญากาศ คีม ฯลฯ
เด็กที่มีอาการเจ็บป่วยร่วมด้วย
การรักษา
ความเชื่อแต่โบราณ ว่ากันว่าหากเด็กตัวเหลือง นอกจากการได้รับนมแม่ ควรให้น้ำในปริมาณมาก ซึ่งความจริงแล้ว การทำเช่นนั้นอาจทำให้เด็กตัวเหลืองมากและนานขึ้น เพราะได้รับอาหารไม่พอและทำให้ขี้เทาค้างอยู่ในลำไส้นานเกินไป ส่วนการพาไปอาบแดดอ่อนตอนเช้า ซึ่งเป็นอีกวิธีที่นิยมทำกัน อาจได้ผลอยู่บ้าง แต่ถ้าเด็กตัวเหลืองแบบไม่ปกติ วิธีนี้อาจไม่ทันการ ควรที่จะได้รับการรักษาด้วยวิธีดังนี้
1.การส่องไฟ เป็นการใช้แสงบำบัดด้วยหลอดไฟสีฟ้าเข้ม โดยจะส่องไฟตลอดเวลา ยกเว้นช่วงที่แม่ให้นม นับเป็นการรักษาที่ไม่มีผลเสียหรืออันตรายกับเด็ก ใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน จนระดับการตัวเหลืองลดลงจึงหยุดการรักษาได้ แต่กรณีที่เด็กขาดน้ำหรือไม่สามารถกินนมได้อย่างเพียงพอ อาจต้องให้น้ำเกลือร่วมด้วย
2.การเปลี่ยนถ่ายเลือด เด็กจะได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ก็ต่อเมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วพบว่า มีอาการตัวเหลืองรุนแรงมาก เนื่องจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เช่น กรณีที่หมู่เลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากัน ฯลฯ รวมถึงรักษาด้วยการส่องไฟแล้วไม่ได้ผล
หากเด็กอยู่ในภาวะตัวเหลืองรุนแรงแล้วไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เสียชีวิต หรือเกิดความพิการที่สมองอย่างถาวร มีอาการหูตึงหรือหูหนวกได้ การป้องกันที่ดีที่สุดคงจะเป็นการให้นมกับทารกอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรสังเกตอาการหลังกลับบ้าน แม้คุณแม่มือใหม่อาจเป็นช่วงชุลมุนวุ่นวายหลายอย่าง แต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับการสังเกตลูกด้วยนะคะ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรก ๆ เพราะนอกจากช่วยภาวะความเสี่ยงแล้ว หากพบว่าลูกมีสัญญาณอาการเหล่านี้ ก็จะได้รีบพาลูกไปพบแพทย์ได้ไม่ล่าช้าเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น